Connect with us

พระเครื่องภูธร

พระสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี

หนังสือพิมพ์ชลบุรีโพสต์ออนไลน์ (www.chonburipostonline.com) โดยทีมข่าว “โต บางแค” โทร. 089 931 2068

***หากจะกล่าวถึงพระสมเด็จ ที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต)พรหมรังสี ท่านสร้าง จะไม่กล่าวถึง “สมเด็จบางขุนพรหม”เห็นจะไม่ได้ เพราะความศักดิ์สิทธิ์อิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์มีไม่แพ้พระสมเด็จวัดระฆังเลยทีเดียว***ประวัติวัดบางขุนพรห (วัดใหม่อมตรส) เดิมทีวัดบางขุนพรหม หรือ วัดใหม่อมตรส สร้างขึ้นสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี ประมาณปี พ.ศ. 2321 แต่ไม่ปรากฏนามผู้สร้างวัด ซึ่งต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้สร้างถนนผ่านกลางวัดบางขุนพรหม นับจากนั้นมาวัดบางขุนพรหมจึงกลายเป็น 2 วัด คือ วัดบางขุนพรหมนอก(วัดใหม่อมตรส) และ วัดบางขุนพรหมใน(วัดอินทรวิหาร)โดยมีถนนเป็นเส้นแบ่งแยกวัดทั้งสอง

***วัดบางขุนพรหมมีอาณาเขตกว้างขวาง ตั้งอยู่ถนนสามเสน เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ทิศตะวันตกของวัดติดแม่น้ำเจ้าพระยา ทางทิศเหนือติดคลองเทเวศร์ ทิศตะวันออกติดบ้านพานบ้านหล่อพระนคร ***เดิมทีวัดบางขุนพรหมมีชื่อว่า วัดวรามะตาราม แต่ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น วัดอำมาตยรส หรือ วัดอมฤตยรส โดยพบหลักฐาน ใบตราตั้งเจ้าอาวาส ลงวันที่ 15 สิงหาคม รศ.120 ตรงกับปี พ.ศ.2444 ชื่อ พระอธิการเทศ เป็นสมภาร และ ปี พ.ศ. 2460 ได้เปลี่ยนชื่อวัดใหม่อีกครั้งเป็นชื่อ วัดใหม่อมตรส*** วัดบางขุนพรหม(วัดใหม่อมตรส)เป็นวัดเก่าแก่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยอยุธยาเป็นราชธานี ผ่านกาลเวลามาหลายปี วัดมีการเสียหายและเสื่อมโทรมลงมาก ปีพ.ศ. 2321 มีการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งแรก และ ปีพ.ศ.2411 จึงได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งที่สอง โดยมี เสมียนตราด้วง ต้นสกุล (ธนโกเศศ) ได้ทำการบรูณะวัดบางขุนพรหม(วัดใหม่อมตรส) และปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ไว้เพื่อเป็นมหากุศล และเป็นพระเจดีย์ประจำตระกูล ตามประเพณีนิยมในสมัยนั้น โดยได้สร้างพระเจดีย์ขึ้นสององค์ องค์ใหญ่เพื่อบรรจุพระพิมพ์ต่างๆ ตามโบราณคติธรรมเพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา และสร้างเจดีย์องค์เล็กเพื่อบรรจุอัฐิธาตุ บรรพบุรุษ โดยเริ่มสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2411 จนกระทั่งปี พ.ศ. 2413 จึงแล้วเสร็จ

*** จากนั้น เสมียนตราด้วง จึงได้กราบขออนุญาต สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ในการสร้างพระสมเด็จ เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา และเป็นการสร้างมหาบุญกุศลแห่งวงศ์ตระกูล ท่านสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) จึงได้อนุญาตให้สร้างพระสมเด็จบางขุนพรหม และมอบผงวิเศษที่ใช้ในการสร้างพระสมเด็จวัดระฆังของท่านให้ส่วนหนึ่งประมาณครึ่งบาตรพระ เพื่อเป็นมวลสารในการสร้างพระบางขุนพรหม และทุกครั้งที่ตำผงพุทธคุณในครกเพื่อผสมมวลสาร ท่านสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) จะโรยผงวิเศษของท่านลงในครกด้วยตัวท่านเองจนกระทั้งเสร็จพิธี เมื่อเสมียนตราด้วง ได้ผงวิเศษจากท่านสมเด็จพุฒาจารย์(โต) แล้ว จึงได้นำผงพุทธคุณมาผสมปูนเปลือกหอย เพื่อให้ปูนเปลือกหอยเป็นตัวผสานเนื้อพระให้ยึดติดกันเป็นองค์พระ เพื่อจะได้นำไปกดลงในแม่พิมพ์พระ พระจะได้ไม่แตกหักง่าย***พระสมเด็จกรุวัดบางขุนพรหม เท่าที่พบมีทั้งหมด 10 แม่พิมพ์ 1.พิมพ์ใหญ่ 2.พิมพ์ทรงเจดีย์ 3.พิมพ์เกศบัวตูม 4.พิมพ์ฐานแซม 5.พิมพ์ปรกโพธิ์  6.พิมพ์ฐานคู่ 7. พิมพ์สังฆาฏิ 8. พิมพ์เส้นด้าย 9. พิมพ์อกครุฑ 10. พิมพ์ไสยยาสน์

*** พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระที่บรรจุอยู่ในพระเจดีย์ เมื่อครั้งน้ำท่วมใหญ่พระเจดีย์จึงถูกน้ำท่วม พระทั้งหมดจึงถูกน้ำและดินโคลนทับถม เนื้อพระของพระสมเด็จบางขุนพรหม ส่วนใหญ่จึงเป็นเนื้อสีขาวและขาวอมเหลือง หนึกนุ่มแต่แข็งแกร่ง มีฝ้ากรุฉาบโดยทั่วไป อย่างที่เรียกกันทั่วๆไปว่า “สนิมกรุ หรือ คราบกรุ” คราบนี้มีสีขาวหรือค่อนข้างขาวติดแน่นอยู่บนพื้นผิวขององค์พระ คราบกรุของพระบางองค์มีสีน้ำตาลเข้ม บางองค์คราบกรุบาง บางองค์คราบกรุหนา เมื่อใช้ไปนานๆหรือถูกสัมผัสมากผิวจะเกิดความมันดูหนึกนุ่ม ***การแตกกรุ พระสมเด็จบางขุนพรหมได้ถูกขโมย(การตกพระ)ออกจากกรุตั้งแต่สมัยโบราณ พระที่ตกออกมาสมัยก่อนนิยมเรียกพระกรุเก่า ส่วนการแตกกรุอย่างเป็นทางการเกิดขึ้นในวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ.2500 เรียกพระกรุใหม่ โดยมี พลเอกประภาส จารุเสถียร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานกรรมการเปิดกรุ มีอธิบดีกรมศาสนา เจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะอำเภอ ตำรวจ ทหาร ร่วมด้วยในพิธี การเปิดกรุครั้งนี้มีพระจำนวนหนึ่งที่สมบูรณ์ จึงได้ออกให้ประชาชนได้บูชา ส่วนหนึ่งที่ชำรุดได้เก็บไว้เพื่อนำไปเป็นมวลสารในการสร้างพระเพื่อสืบทอดพระพุทธศานาให้คงอยู่สืบต่อไป ***พระพุทธศาสนาเกิดขึ้นมาหลายพันปี ทุกคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า สอนและชี้แนะให้เรากระทำแต่ความดี คิดดี พูดดี ทำดี อยู่ในศีลธรรมอันดี เป็นคุณสมบัติที่ดีของชาวพุทธที่ต้องพึ่งปฏิบัติ และพึ่งรักษาไว้ให้สืบต่อไป

“ อาจ  บางแสน ”

Continue Reading
Advertisement
Advertisement

Copyright © 2020 ChonburipostOnline.Office 150/12 Village No.2 Surasak, Sriracha, Chonburi, 20110, Tel. 089 931 2068, Fax 038 328 438 Powered Tro BangKrea.