Connect with us

พระเครื่องภูธร

“ราชินีแห่งพระเครื่อง พระนางพญา พิษณุโลก”

 ราชินีแห่งพระเครื่อง พระนางพญา พิษณุโลก วัดนางพญาเป็นวัดสำคัญในประวัติศาสตร์ ตั้งอยู่ในจังหวัดพิษณุโลก สาเหตุที่ตั้งชื่อ วัดนางพญา มีการสันนิษฐานว่าน่าจะมาจากชื่อของ พระวิสุทธิกษัตรีย์ พระอัครชายา ของ พระมหาธรรมราชา และพระราชมารดาของพระสุพรรณกัลยา สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จพระเอกาทศรถ ซึ่งปรากฏหลักฐานว่าทรงสถาปนาวัดนางพญาแห่งนี้ ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็นแม่เมืองสองแคว ในคราวบูรณปฏิสังขรณ์ราวปี พ.ศ.2090 – 2100 และในการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งนี้จึงได้ทรงจัดสร้างพระนางพญาบรรจุไว้ในพระเจดีย์เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนาตามคติความเชื่อแต่โบราณของชาวพุทธ…กรุแตกครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2444 วัดนางพญาจะทำการจัดสร้างพระพุทธชินราชองค์จำลอง ทางวัดจึงได้ทำการสร้างศาลาขึ้นบริเวณด้านหน้าของวัด  เพื่อเป็นปะรำพิธีในการรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่5 เพื่อทอดพระเนตรการหล่อพระพุทธชินราชองค์จำลอง ครั้นพอขุดหลุมด้านหน้าวัดพบพระเครื่องพิมพ์พระนางพญาจำนวนมากฝังอยู่ในดินจึงได้เก็บรวบรวมไว้ที่วัด อีกส่วนหนึ่งได้นำถวาย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่5

ด้วยพระนางพญามีจำนวนมาก  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 จึงได้แจกจ่ายให้ข้าราชบริพารที่ตามเสด็จ และอีกส่วนหนึ่งนำกลับกรุงเทพมหานครไปบรรจุไว้ในเจดีย์วัดต่างๆ…กรุแตกครั้งที่สองปี พ.ศ.2470 มีการพบพระนางพญาพิมพ์เดียวกับกรุวัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลกขึ้นที่กรุวัดอินทรวิหาร กรุงเทพมหานคร พบหลักฐานสำคัญจากคำจารึกบนแผ่นลานเงิน ลานทอง และลานนาค จารึกไว้ว่า พระนางพญาที่บรรจุอยู่ในพระเจดีย์แห่งนี้ เป็นพระนางพญาที่นำมาจากวัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก ในปีพ.ศ. 2444 ซึ่งเป็นปีที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสจังหวัดพิษณุโลก เพื่อนมัสการพระพุทธชินราชและทอดพระเนตรการหล่อพระพุทธชินราชองค์จำลอง และได้นำพระนางพญากลับมาบรรจุไว้ในพระเจดีย์วัดอินทรวิหาร…ลักษณะเด่นของพระนางพญา องค์พระจะมีความงดงามอ่อนช้อย อกพระตั้งนูนเด่นมีสังฆาฏิ ลำแขนทอดอ่อนพริ้วไหว งดงามสมกับกุลสตรี พระนางพญาที่พบทั้งหมดเป็นพระเนื้อดินเผา พระที่ขึ้นจากกรุมีความแตกต่างกันในแต่ละองค์ บ้างแก่แร่ บ้างแก่ดิน บ้างแก่ว่าน ด้วยเพราะจำนวนที่จัดสร้างมาก จึงทำให้ส่วนผสมแตกต่างกันออกไป เนื้อพระจึงมีความแตกต่างกัน…พระนางพญาจำแนกพิมพ์เด่นๆได้ 5 แม่พิมพ์ มี พิมพ์เข่าโค้ง พิมพ์เข่าตรง พิมพ์สังฆาฏิ พิมพ์เทวดา พิมพ์อกนูน…พุทธคุณในพระนางพญา ตามประสบการณ์ของผู้ที่ได้บูชา มีทั้งเมตตามหานิยม วาสนาบารมี แคล้วคลาดป้องกันภัย คงกระพันชาตรี เรียกได้ว่าครอบจักรวาล พุทธคุณมากมายขนาดนี้ถึงได้เป็นหนึ่งในชุดพระเบญจภาคี สุดยอดพระเครื่องเมืองสยาม…พระเครื่องแต่ละองค์พุทธศิลป์แตกต่างกันออกไป พระนางพญาก็เช่นกัน สร้างให้มีพุทธศิลป์พริ้วไหว อ่อนช้อย งดงาม สื่อถึงความอ่อนน้อมถ่อมตน รู้จักวางตัว ทำตนให้เป็นที่รัก  ผู้อ่อนน้อมย่อมเป็นที่ต้องใจเสมอ เป็นผู้ใหญ่ต้องมีจิตเมตตาโอบอ้อมอารี เป็นผู้น้อยต้องรู้จักอ่อนน้อมถ่อมตนครับ เมื่อบูชาพระนางพญาผู้บูชาต้องประพฤติตนให้อยู่ในกรอบของคุณงามความดีด้วยจึงจักส่งเสริมกันดีนักแล

“ อาจ  บางแสน ”

Continue Reading
Advertisement
ข่าวเด่น2 วัน ago

เปิดแล้ว.. มหกรรมอาหารริมทาง (Chonburi Street Food Festival) ของดี ของอร่อย ในจังหวัดชลบุรี มารวมอยู่ที่ เซ็นทรัล ศรีราชา..

สังคมทั่วทิศ4 วัน ago

สุดยอดครูนักพัฒนา..ผู้อำนวยการโรงเรียนฯ ลงมือตัดผมฟรี ให้กับนักเรียนด้วยตัวเอง เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระให้กับผู้ปกครอง..

ข่าวเด่น3 สัปดาห์ ago

สำนักงานนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง  จัดกิจกรรม Let’s Zero Together ปลูก เพื่อ (ลด) สู่อนาคตที่ยั่งยืน ประจำปี 2567..

เศรษฐกิจ3 สัปดาห์ ago

ท่าเรือแหลม​ฉบัง จัดประชุมรับฟังความเห็นประชาชนในชุมชนรอบท่าเรือฯ..

เศรษฐกิจ3 สัปดาห์ ago

PDPC เพิ่มช่องทางบริการสู่ภูมิภาค เปิดศูนย์บริการรับเรื่องร้องเรียนการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลสู่พื้นที่ จ.ชลบุรี

Advertisement

Copyright © 2020 ChonburipostOnline.Office 150/12 Village No.2 Surasak, Sriracha, Chonburi, 20110, Tel. 089 931 2068, Fax 038 328 438 Powered Tro BangKrea.